ยังจำกันได้ไหมรูปนี้ที่ใช้ัทายกัน?

เป็นอีกหนึ่งความทรงจำที่แสนดีสมัยประถมที่ได้มีแบบเรียนภาษาไทยที่ยังจำกันได้ มานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจ...

บทที่1 เลยครับจำกันได้ไหม?

นี่เป็นบทเรียนบทแรกสำหรับชั้น ป.1 เลยนะ ครั้งแรกที่เราหัดอ่านภาษาไทย

ทายกันซิว่า..นี่บทไหนเอ่ย?

บทที่2 ครับพี่น้อง อา มี นา นา มี งู นา มี ปู กา ดู ปู งู ดู ปู มานี มา นา อา...

และนี่คืออะไรเอ่ย?

แบบฝึกไงครับ จะมีตอนท้ายของทุกๆ บทเรียนเลยจริงไหม

และนี่ก็คือบทอ่านที่เราจดจำกันได้เป็นอย่างดี

เพราะว่าเราเคยท่องตอนอยู่ชั้น ป.1 ไงครับ อิอิ...

และนี่ก็เป็นโรงเรียนที่พวกเด็กๆ ไปเรียนกัน.

เป็นบทที่ 20 ของชั้น ป.1 ที่มานี ถามแม่ว่าจะได้ไปโรงเรียนเมื่อไร?

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 5 โต มี ตา

ไม่ได้กลับมาเขียนบล็อกตั้งนานเนื่องจากติดภาระกิจเรื่องเรียน และเรื่องครอบครัว วันนี้มานำเสนอบทที่ 5 ในส่วนของ แบบเรียนมานีมานะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่ 1 กันนะครับ

จะเป็นการกล่าวถึง โต (เจ้าหมาน้อยของ มานี ไงครับ) จะแนะนำให้เด็กๆ รู้จักกับอวัยวะต่างๆ ของสุนัข นะครับ ไม่ว่าจะเป็น ตา  ขา  หู นะครับ

ไปอ่านกันเลยล่ะกัน









อ่านจบแล้วก็มาทบทวนแบบฝึกหัดกันนะครับ...


แล้วจะมานำเสนอในบทที่ 6 ต่อไปนนะครับ



วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 4 สีเทา ...

จากบทที่ 1 - บทที่ 3 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า มีตัวละครเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ นะครับ จำได้ไหมว่า มีใครบ้าง

หลักๆ แล้วก็จะมี "มานี" กับเจ้าโต นะครับ สำหรับบทนี้ก็จะมีตัวละครเพิ่มขึ้นมาอีก นั่นก็คือ "ชูใจ" และ "สีเทา" ครับ

สีเทา เป็นแมวของชูใจ นะครับ ส่วน เจ้าโต ก็คือหมาน้อยของมานีนั่นเอง

บทนี้เป็นการเดินทางมาหากันของเด็กๆ นะครับซึ่ง สัตว์ทั้งสองตัวก็ได้พบกัน ต่างฝ่ายต่างก็ดีใจที่ได้มาพบกัน

ไปอ่านเนื้อเืรื่องกันดีกว่า...





เป็นที่น่าแปลกนะครับ ที่หมากับแมวจะถูกกัน บางบ้านนะ ไล่กันกันไม่ปล่อยเลย
จริงไหมครับ

สีเทา ไป หา โต
โต ดีใจ สีเทา ก็ ดีใจ



แบบฝึกในบทนี้ก็เช่นเดิมครับ เป็นการฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย 
ของสระ ไอ เช่น

ไป ไว ไอ ไร
ไม ไต ไห ไส

พรุ่งนี้จะมาต่อกันในบทที่ 5 นะครับ

บทที่ 3 นา มี รู งู ...

บทที่ 3 บทนี้มานียังอยู่ที่นาของอาอยู่นะครับ ทายซิครับว่ามานีทำอะไรเอ่ย ? มานีก็พาเจ้าโตวิ่งเล่นในทุ่งนาครับ เพียงแต่ว่านาตอนนี้สงสัยจะเป็นหน้าแล้งเนาะ. เพราะว่าต้นข้าวไม่ีค่อยมีเท่าไร (เอ..ใครเห็นเป็นต้นข้าวบ้าง?)

เห็นไหมว่า ใกล้มานียังมีงูอยู่เลย น่ากลัวจริงๆ ถ้าเป็นพวกเราๆ ก็คงวิ่งหนีกันไปแล้วมั้ง (เหอะๆ)


จะมัวช้าทำไม ไปอ่านทบทวนกันเลย...





เห็นไหมครับว่า บรรยากาศ บ้านไร่ชายทุ่งเป็นไง
ภาพด้านหลังมีทั้งภูเขา แต่ก็ดูจะเจริญแล้วนะนี่ มีเสาไฟฟ้าด้วย
และก็มีชาวนาด้วยนะ สงสัยจะเป็นอาของมานี

นา มี รู งู   นา มี รู  ปู
มานี พา โต มา หา อา
มานี พา โต มา นา 
มานี พา โต หา ปู
มานี พา โต ดู ปู



จะเห็นว่า แบบฝึกการอ่านด้านบนนี้ จะสอนให้เด็กๆ ได้ฝึกทักษะการใช้สระ
ซึ่งมีทั้ง สระโอ, สระอา, สระอี และสระอู

รวมทั้งมีการใช้คำสัมผัส เพื่อฝึกให้เด็กๆ ท่องจำีำคำได้ง่ายขึ้น เช่น

ตาโต โมโห
ปูนา กากี
นาดี อีกา อารี

คงจะสนุกกันนะครับ ไว้วันพรุ่งนี้จะนำเสนอในบทที่ 4 นะครับ


วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 2 มานี มา นา อา ...

ในบทที่สองนี้ เป็นตอนนที่มานีเดินทางไปนาของอานะครับ มีเจ้าโตตามไปด้วย จะเห็นว่าเมื่อก่อนการเดินทางไปนา ส่วนใหญ่แล้วจะเดินเท้าไปกันครับ และที่จะเห็นเป็นประจำก็คือ บ้านไหนก็จะมีหมา อุ้ยไม่สุภาพ มีสุนัขไปด้วย (บ้านผมก็มี หลายตัว)

พูดไปแล้วก็คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่งครับ เพราะว่าบ้านนอกของเราเป็นถิ่นที่ไร้ซึ่งหมอกควันโรงงานอุตสาหกรรม แต่อีกไม่นานก็คงจะเข้ามาเยือน เพราะบ้านเมืองเราพัฒนาไปเยอะแล้ว

บทนี้จะสอนให้เด็กๆ ได้หัดอ่านต่อจากบทที่ 1 ครับ จะมีภาพชวนให้เด็กๆ ตื่นตาตื่นใจนิดหน่อย ในภาพก็จะชวนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติว่า ในนามีอะไรบ้าง

อา มี นา     นา  มี  งู      นา   มี  ปู
กา  ดู  ปู      งู   ดู  ปู      งู    ดู    ปู
มานี  มา  นา  อา

ไม่รู้นะว่า เด็กๆ สมัยปัจจุบันจะเคยเห็นกันบ้างไหมกลิ่นโคนสาบคลายเช่นนี้ หากไปเห็นก็คงได้วิ่งหนีกันไปหมด เพราะว่ากลัวทั้งแดนร้อน แถมเจองู นะ คงได้เผ่นกัน (จะหนีไหมก็ไม่รู้นะ แต่ถ้าเป็นผมตอนนี้ก็ยังกลัวอยู่เลย)


เสร็จจาก นี้แล้วเด็กๆ ก็จะได้ทบทวนแบบฝึกเช่นเคยครับ ดังภาพด้านล่าง


ภาพด้านบน ก็จะมีคำอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น หู, ตา, ปา, ตี, ปี, ดี
คำพวกนี้จะเป็นคำที่ใช้สระคล้ายกัน ให้เด็กๆ จำง่าย และฝึกทักษะการอ่าน และการจดจำไปพร้อมๆ กัน

เสร็จจากนั้นก็จะฝึกให้เด็ก เห็นคำที่มาผสมแล้วทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้นครับ เช่น
 "ตา" และ "ปู" มาผสมกัน ก็จะได้คำว่า ตาปู อ่านว่า ตา - ปู หมายถึงอวัยวะของปูที่ใช้มอง นั่นก็คือ ตาปู
ปูนา และ หูตา เป็นต้น 

ต่อมาก็เป็น 3 คำ หรือ 3 พยางค์ เช่น 
ตี - ตา - ปู    ดู-ดี-ดี   อา-ดู-กา

สรุปบทนี้เด็กจะได้อะไรบ้าง
1.เห็นธรรมชาติเกิดจินตนาการว่าในนามีอะไรบ้าง
2.ทักษะการอ่านและการผสมคำ
3.ฝึกจดจำการใช้สระ

บทที่ก็จบลงแล้วนะครับหวังว่าคงสนุกกับการเรียนนะครับ ไว้พรุ่งนี้มาต่อกันในบทที่ 3 นะครับ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

บทที่ 1 มานี มี ตา ...

สำหรับวันนี้เรามาเริ่มเรียนบทที่ 1 สำหรับน้องๆ ป.1 กันเลยดีกว่า สำหรับท่านใดที่เคยศึกษาเนื้อหาบทเรียนมานีมานะ... (คนวัยเดียวกัน) ก็คงจะอดย้อนไปนึกถึงตอนเป็นอดีตไม่ได้ เพราะว่าเรื่องแรกๆ จะไม่ค่อยน่าตื่นเต้นเท่าไร เนื่องจากคุณครูจะบังคับให้ท่องซะเป็นส่วนใหญ่ จริงไหมครับ

สำหรับผมนั้นไม่ได้เข้าเรียนในระดับก่อนประถมศึกษาเลย จำได้ว่า แค่ 1+1 เท่ากับ อะไรยังไม่รู้เลย อันนี้เรื่องจริง เพราะตอนนั้นครอบครัวไปอยู่ที่ กทม. อิอิ

เข้าเรื่องเลยดีกว่าครับ สำหรับ หนังสือเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 จะมีเนื้อหาอยู่ทั้งหมด 22 บทด้วยกันนะครับ ส่วนใหญ่จะสอนให้นักเรียนรู้จักธรรมชาติ และก็รู้จักสัตว์ การเรียนโดยส่วนใหญ่จะเป็นคำง่ายๆ นะครับ

รูปร่างของปกก็จะเป็นแบบที่เห็นด้านซ้ายมือนะครับ ราคาปกตั้ง 6.50 บาทแนะ แต่ผมก็ไม่ได้ซื้อหรอก เพราะโรงเรียนให้ยืมเรียนครับ

จำได้ไหมเอ่ยว่ามีตัวละครใดบ้างที่ปก เด็กคนที่อุ้มแมวอยู่ก็คงจะเป็นชูใจ นะครับ (ก็อุ้มเจ้าสีเทาไง) ส่วนคนขวามือก็คงจะเป็นมานี เพราะเธอมีหมาน้อยชื่อเจ้าโต แม่นบ่ (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ แหะๆ)








จะเห็นว่าภาพด้านบนนี้ เป็นภาพธรรมชาติที่แสนจะน่าจดจำเลยทีเดียว ผมและเพื่อนๆ สมัยเรียนเคยนำมาทายกันว่า สถานที่ไหนอยู่ตรงไหน ชอบจริงๆ เพราะภาพเหล่านี้ช่างเหมือนกับลักษณะหมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่เลยจริงๆ อยากจะย้อนให้หมู่บ้านในปัจจุบันเป็นอย่างภาพที่เห็นนี้จัง เพราะปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ววัฒนธรรมดีๆ และสิ่งงามๆ ในหมู่บ้าน




ภาพด้านบนคือตัวละครในเรื่องครับ จะแนะนำให้เด็กๆ รู้จักกับเพื่อนๆ ของตัวละคร รวมถึงสัตว์เลี้ยงประจำตัวของเขา ดังนี้นะครับ

วีระ มีลิง ชื่อ เจ้าจ๋อ
มานี และ มานะ มีหมาชื่อ เจ้าโต
ชูใจ มีแมวชื่อ สีเทา
และ ปิติ มีม้าชื่อ เจ้าแก่



สำหรับบทที่ 1 นี่จะให้เด็กนักเรียนได้หัดอ่านและผสมคำครับ ดังภาพด้านบน ลักษณะของการวางคำ จะเขียนเว้นวรรค เพื่อให้อ่านง่าย เพราะเด็กยังแยกคำไม่ค่อยได้ ดังข้อความด้านล่าง

"มานี มานี มี ตา"
"กา กา มี ตา"
"อา อา มี ตา"




ภาพด้านบน จะเป็นแบบฝึกครับ ซึ่งบทนี้จะเป็นแบบฝึกอ่าน ให้เด็กๆ ได้ฝึกการอ่านคำที่ถูกต้องอีกครั้ง โดยคุณครูจะช่วยฝึกให้นักเรียนนะครับ

บทนี้จะเป็นบทง่ายๆ ที่ทุกคนชอบมาก เพราะมีเนื้อหาและภาพชวนให้เด็กๆ ชอบและสนใจ
ยังไงซะ ถ้าท่านผ่านมาแวะชมเว็บ ก็อาจจะนำเทคนิคเหล่านี้ไปฝึกกับเด็กนักเรียนของท่านหรือว่าหลานๆ ของท่านก็ได้นะครับ

พอแค่นี้ก่อน วันพรุ่งนี้เราจะมาเรียนต่อในบทที่ 2 นะครับ





วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของ มานี มานะ ปิติ ชูใจ จันทร...

วันนี้ขอนำเสนอแบบเรียนที่พวกคุณๆ หลายท่านเคยศึกษากันตั้งแตวัยเยาว์ นั่นคือ มานะ มานี ปิติ ชูใจ วีระ จันทร ... (จริงๆ มีตัวละครอีกนะครับ แต่ขอกล่าวเพียงเท่านี้ก่อน) เป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ในชั้นประถมปีที่ 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม (ชั้นละ 2 เล่มครับ) ซึ่งใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทยระหว่างปี พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2537 (ผมเกิดในช่วงนี้พอดี แต่ขออุบไว้ก่อนว่า ปีไหน อิอิ)

แบบเรียนนี้เขียนโดยอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ (ท่านได้แต่งไว้ครับ เห็นว่ามีภาคต่อด้วย "จบป.6 แล้วพวกมานีมานะ...หายไปไหน?") และใช้รูปภาพประกอบกับเนื้อหาโดยวิธีเขียนภาพประกอบโดยวาดการ์ตูน จำนวน  3 ท่าน คือ คุณเตรียม ชาชุมพร นักวาดการ์ตูนและนิยายภาพชื่อดังแห่งชัยพฤกษ์การ์ตูน และอีก 2 ท่าน คือโอม รัชเวช และ ปฐม พัวพิมล


พูดมาถึงตรงนี้แล้วก็อดที่จะคิดถึงบรรยากาศตอนสมัยที่เรียนระดับประถมไม่้ได้ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่กำลังซนเลยทีเดียว เริ่มแรกผมก็ได้เรียนแบบเรียนนี้เลย เป็นแบบเรียนที่ดีมากๆ เลยครับ ช่วยให้ใครหลายๆ คน ที่ได้เรียนในสมัยนั้นต้องอดคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ ไม่ได้ เพราะบทเรียนช่างเข้ากับยุคสมัยจริง (ถึงจะแก่ ไปหน่อยก็เถอะ อิอิ) แถมราคาหน้าปกนะไม่ต้องพูดถึง เพราะถูกมากๆ (แต่ว่าไปแล้วช่วงนั้นก็แพงอยู่นา) สำหรับผมแล้วไม่ได้ซื้อครับ เพราะเป็นแบบยืมเรียน ใช้หนังสือพิมพ์ห่อปกซะ เปิดออกมาช่วงท้ายเทอม (เวลาจะคืนครู) ยังใหม่อยู่เลย ท่านทั้งหลายเคยทำกันบ้างหรือเปล่า? แหะๆ

ว่ามาซะยาว ไว้บทความถัดไปค่อยเข้าเรื่องกันนะครับ